วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความเป็นมาของว่าว


คำว่า “ว่าว” ในภาษาไทย หรือ “Kite” ในภาษาอังกฤษ มีความหมายว่า เป็นเครื่องเล่นรูปต่างๆ มีไม้เบาๆ เป็นโครง แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบางๆ ปล่อยให้ลอยขึ้นไปในอากาศ โดยมีเชือกหรือป่านยึดไว้ ว่าว เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ทำขึ้นมา เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงและเพื่อประโยชน์อย่างอื่นมาเป็นเวลานับพันปีแล้ว โดยไม่ทราบกำเนิดที่แน่ชัดว่า ว่าวเกิดขึ้นที่ชาติใดก่อนเป็นครั้งแรก เพราะว่าวเป็นการเล่นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เล่นกันเกือบทุกชาติทุกภาษา แต่ที่นิยมเล่นกันมากคือ ชนชาติในทวีปเอเซีย ทั้งนี้เพราะลักษณะอากาศในภูมิภาคนี้อำนวยต่อการเล่นว่าว ด้วยมีท้องฟ้าแจ่มใส มีสายลมพัด สามารถส่งว่าวให้ขึ้นไปลอยในอากาศได้เสมอที่น่าสนใจคือประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรม เก่าแก่และสำคัญของโลก มีองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการเล่นว่าวเป็นอย่างยิ่งคือ ในประเทศจีนมีต้นไผ่เป็นจำนวนมาก ชาวจีนรู้จักการทอผ้าไหมและทำกระดาษมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4,000 ปีมาแล้ว จากบันทึกเก่าแก่ของประเทศจีนที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ชาวจีนรู้จักการทำว่าวและเล่นว่าวมาไม่น้อยกว่า 2,000 ปีมาแล้ว
ประเภทและชนิดของว่าว ในประเทศไทยมีการแบ่งประเภทว่าว เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ1. ว่าวแผง ได้แก่ ว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาว เช่น ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา ว่าวอีลุ้ม ว่าวแซงแซว หรือว่าวรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น2. ว่าวภาพ ได้แก่ ว่าวที่ประดิษฐ์ขึ้นในลักษณะพิเศษ เป็นรูปร่าง มีความกว้าง ความยาว และความหนา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้ 3 ประเภท คือว่าวประเภทสวยงาม ว่าวประเภทความคิด ว่าวประเภทขบขัน ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทยั ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำมาจากไม้ไผ่ นำมาไข้วกันมี แกนกลางอันหนึ่ง และมีอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน แต่ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง และภู่จะมีชนิดเดียวไม่มีหลายประเภทเหมือน ภาคกลาง ว่าวรูปแบบอื่น ๆ คงได้รับแบบอย่างจากว่าวภาคกลางในภายหลัง ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม ว่าวภาคเหนือลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำมาจากไม้ไผ่ นำมาไข้วกัน มี แกนกลางอันหนึ่ง และมีอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน แต่ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง และภู่จะมีชนิดเดียวไม่มีหลายประเภทเหมือน ภาคกลาง ว่าวรูปแบบอื่น ๆ คงได้รับแบบอย่างจากว่าวภาคกลางในภายหลัง ว่าวภาคกลาง มีการวิจัยสำรวจพบว่าเยาวชนไทยในภาคกลางนิยมเล่นว่าวมากถึง ร้อยละ 50.60 ว่าวที่นิยมเล่นมีรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิม คือ ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวอีเพรด ว่าวอีลุ้ม ส่วนรูปแบบใหม่ที่รับมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวปลา ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น ว่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม ว่าวภาคใต้การเล่นว่าวในภาคใต้นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นส่วนใหญ่ ว่าวที่เล่นกันมากในภาคใต้มีหลายชนิด เช่น ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก และว่าวใบไม้ ว่าวที่นิยมเล่นกันมาก คือว่าววงเดือนแบบมีแอก ผู้เล่นมักชักขึ้นในเวลาบ่ายแล้วลงในตอนเช้าของอีกวันหนึ่ง ซึ่งถือว่าว่าวตัวไหนชักไว้ค้างคืนโดยไม่ต้องเอาลงได้นับว่าตัวนั้นวิเศษมาก อนึ่งนักเล่นว่าวชาวใต้นิยมประชันเสียงแอกด้วยว่าว่าวตัวไหนมีเสียงแอกดังและไพเราะกว่ากัน คนรุ่นเก่า ๆ มักนิยมเล่นว่าววงเดือนขนาดใหญ่กันเป็นหมู่เป็นพวก คือทำว่าวที่มีขนาดของปีกยาวประมาณ 3-4 เมตร ใช้คนส่งว่าวขึ้น 2-3 คน และคนชัก 3-4 คน ส่วนว่าววงเดือนอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีแอกนั้น นิยมเล่นเพื่อการแข่งขันว่าวว่าวตัวไหนลอยขึ้นสูงที่สุดได้ก่อนตัวอื่นในเวลาเดียวกัน ฤดูกาลที่นิยมเล่นว่าวมาก คือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เล่าถึงพราะราชพิธีบุษยาภิเษก ในเดือนยี่ว่าเป็นนักขัตฤกษ์ที่นางสนมกำนัลได้ดูการชัก "ว่าวหง่าว" ซึ่งมีเสียงไพเราะเสนาะโสตยิ่ง และในกฎมานเทียรบาลในสมัยอยุธยาได้ห้ามชักว่าวข้ามพระราชวัง หากละเมิดมีโทษถึงตัดมือ
หลักฐานจากจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชฑูตจากราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุการเดินทางไว้ว่า "ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าของทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้บาทหลวง ตาชาร์ด ซึ่งเป็นบาทหลวงในนิกายเยซุอิค ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ส่งเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ได้เขียนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับว่าว ไว้ว่า"ว่าวเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ทะเลชุบศร และเมืองลพบุรี ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืนรอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูกกระพรวนส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้วโดยเริ่มแรกอาจรับอิทธิพลความเชื่อในพิธีกรรมมาจากอินเดีย ต่อมาค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นการละเล่นตามฤดูกาลเท่านั้น ที่มา http://www.blogger.com/post-edit.g?blogID=1139073533774942285&postID=5803788002348889059
ว่าวไทย อีกหนึ่งภูมิปัญญาที่ไม่ควรมองข้าม
ว่าวเป็นสิ่งที่ชาวไทยคุ้นเคยและรู้จักกันมาแต่โบราณ เพราะเป็น การละเล่นและเป็นกีฬาที่แพร่หลาย เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ. ศ.1781-1981) จนเกิดตำนานความรักระหว่างพระร่วงหรือพ่อ ขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งโปรดการเล่นว่าวมาก วันหนึ่งพระองค์ทรง เล่นว่าวในวัง สายป่านขาดลอยไปตกที่หลังคาบ้านพระยาเอื้อ พระองค์เสียดายว่าวมาก เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงปลอมตัวเป็นคน สามัญ ปีนออกจากวังไปเก็บว่าวที่บ้านพระยาเอื้อ เมื่อปีนไปก็ได้พบ ว่าพระยาเอื้อมีลูกสาวสวย ทำให้พระองค์เกิดความรักกับลูกสาว พระยาเอื้อ
ต่อมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) การเล่นว่าวได้รับความ นิยมมาก ตั้งแต่พระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงสามัญชน ในสมัย สมเด็จพระเพทราชา ได้ใช้ว่าวในการสงครามด้วย คือใช้ว่าวติด ลูกระเบิดลอยขึ้นไปแล้วจุดไฟสายป่าน ทำให้ฝ่ายข้าศึกถูกระเบิด เสียหาย การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระ มหากษัตริย์จะทรงว่าวจุฬา ถ้าใครเล่นว่าวปักเป้าเข้ามาในเขตของ พระองค์ก็จะถูกคว้าลงมา และการพนันเรื่องว่าวก็เริ่มมีขึ้นแต่บัด นั้น
หลักฐานจากจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชฑูตจากราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุการ เดินทางไว้ว่า "ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าของทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้
บาทหลวง ตาชาร์ด ซึ่งเป็นบาทหลวงในนิกายเยซุอิค ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ส่งเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ได้เขียนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับว่าว ไว้ว่า "ว่าวเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ทะเลชุบศร และเมืองลพบุรี ขณะที่ สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืนรอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูกกระพรวนส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง”
สมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2449 ได้มีการจัดการแข่งขัน ว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทาน ที่พระราชวังดุสิต การแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาใน ช่วงปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรง ฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากนั้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาอีก แต่ก็มีอันต้องว่างเว้นไปอีก เนื่องจากว่า รัฐบาลไม่ส่งเสริม และว่าวเป็นสิ่งที่สร้างปัญหากับระบบการจ่ายไฟฟ้า เพราะมีว่าวไปติดสายไฟ และเคยมีคนถูกไฟดูดตายก็มีมาก จึงทำให้การเล่นว่าวเสื่อมความนิยมลงไป และคนมีที่มีภูมิปัญญาด้านนี้เริ่มร่อยหรอลง เด็กรุ่นใหม่ที่เล่นและทำว่าวเองเริ่มที่จะไม่มีให้พบเห็น
จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างมากหากการเล่นว่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย จากหลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้ว จึงขอชักชวนให้พวกเราหันมาส่งเสริมให้เด้กและเยาวชนมาเล่นว่าวกันให้มากขึ้น เพื่อช่วยกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเล่นว่าวของคนไทยเรา ฝากอีกนิดนึงว่า ถ้าจะเล่นก็ควรหาพื้นที่เปิดโล่ง และห่างจากสายส่งไฟฟ้าให้มากนะครับ เพื่อเป็นจุดสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาทางศิลปะวัฒนธรรม และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
เทศกาลว่าวไทย ณ ท้องสนามหลวง
ตามปกติฤดูกาลเล่นว่าวของคนไทยมักจะมีขึ้นระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน เพราะจะมีลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ หรือลมตะเภา พัดมาจากอ่าวไทย กล่าวกันว่า การเล่นว่าว มีถิ่นกำเนิด ในประเทศจีน ไม่ต่ำกว่า 3000 ปี มาแล้ว ในระหว่าง การปกครอง ของราชวงศ์ฮั่น ทหารจีนทำว่าวโดย ใช้ท่อไม้ ไผ่ผูกติดไว้ แล้วปล่อย ให้ลอยอยู่เหนือหัวข้าศึก เมื่อลมผ่าน เข้าไปในท่อ ก็ทำให้ เกิดเสียงหวีด น่ากลัว ทำให้ข้าศึก ตื่นตระหนกและ วิ่งหนี เอาตัวรอด คนไทยรู้จักการเล่นว่าวมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และสืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใด ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงคนสามัญชนธรรมดา จะถือว่าว่าวเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมและการกีฬาซึ่งผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนโดยไม่มีที่ใดในโลกสามารถทำได้ “ว่าว” สามารถทำขึ้นเองได้ง่าย ๆ จากไม้ไผ่และกระดาษสา นิยมเล่นทุกเพศทุกวัย วิธีเล่นก็ง่ายเพียงให้ว่าวขึ้นไปปัดป่ายอยู่บนท้องฟ้าก็เป็นพอ ส่วนการเล่นว่าวเพื่อแข่งขัน นิยมใช้ว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า คู่ปรับตลอดกาลของการต่อสู้กลางเวหาของไทย เป็นว่าวที่มีชื่อเสียงที่สุดของชาติไทย อาจเรียกได้ว่าเป็นว่าวประจำชาติเลยทีเดียวมีลักษณะโดดเด่นจากชาติอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ทั้งรูปร่างและการเคลื่อนไหวในอากาศ "ว่าวจุฬา" มีขนาดโตกว่าปักเป้ามาก บางตัวยาวถึง 2 เมตร มีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉกไม่มีหางผูกคอซุงที่อกจึงทำให้ส่ายไปมาได้ มีอาวุธคือ “จำปา” เป็นไม้เหลาโค้งประกบติดสายป่าน ต่อจากซุงลงมา สำหรับเกี่ยวว่าวปักเป้า "ว่าวปักเป้า" มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนผูกคอซุงที่อก และมีหางยาวไว้ถ่วงน้ำหนัก ที่มุมด้านล่างของตัวว่าวมีอาวุธคือ “เหนียง” เป็นห่วงป่านติดใต้คอซุงลงมา เอาไว้คล้องตัวว่าวจุฬา สำหรับการทำว่าวจุฬาและปักเป้านั้นต้องอาศัยฝีมือที่ประณีต มักนิยมใช้ไม้ไผ่สีสุกเท่านั้น ในการทำโครงว่าว การคัดเลือกไม้ การดัดและเหลาไม้ การผูกว่าว แต่ละคนจะมีเคล็ดลับแตกต่างกันไป การเล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน มีการพัฒนาการต่อสู้ ดัดแปลงการชักด้ายที่ติดไว้ด้วยของมีคมทำจากเศษแก้วที่เรียกว่า “ สำหรับต่อสู้กัน ใครพลาดท่าก็จะถูกคู่แข่งตัดสายป่านขาด ตลอดการแข่งขันกลางเวหา ตั้งแต่การขึ้นว่าว การยัก การส่าย การคว้า การโฉบ รอก และการบังคับให้เคลื่อนไวได้อย่างสง่างามด้วยสายป่านเพียงสายเดียว ซึ่งต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ที่มีความงามด้วยสีสรร แต่ส่วนมากมักลอยลมอยู่เฉยๆ “จึงอาจกล่าวได้ว่าชาติไทย เป็นชาติเดียวที่มีกีฬาเอาชนะกันกลางเวหา” ว่าวไทยมีการเล่นในทุกๆ ภาค จะแตกต่างกันบ้างในลักษณะของว่าว กีฬาเล่นว่าวนอกจากผู้เล่นจะสนุกสนาน ผู้ชมก็ยังได้รับความเพลิดเพลินและตื่นตาตื่นใจเพราะนี่คือ อีกหนึ่งแห่งความภาคภูมิใจแห่งภูมิปัญญาของคนไทย ที่เราคนไทยควรช่วยกันรักษาไว้สืบไป ถ้าร้อนนี้รู้สึกเบื่อๆไม่มีอะไรทำก็พาน้องๆ หลานๆไปเล่นว่าวกันก็น่าสนุกนะคะไปที่ สนามหลวงก็ได้รับรองว่ามีเพื่อนร่วมเล่นอีกเพียบ แต่ถ้าจะให้ดีควรไปตอนเย็นๆ แดดร่มแล้วจะดีมากค่ะขอให้สนุกครับ

ไม่มีความคิดเห็น: