วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การทำว่าวไทย


ว่าวแม้จะทำจากไม้ไผ่และกระดาษว่าว ซึ่งใช้อุปกรณ์ไม่มากเพียงไม่กี่ชิ้น แต่ต้องอาศัยศิลปะและความชำนาญอย่างมาก โดยเฉพาะการทำว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ไม้ไผ่ที่ใช้ทำว่าวมักใช้ไม้ไผ่สีสุกทำ ต้องมีเคล็ดลับการเลือกแตกต่างกันไปตามแต่ละสำนัก บางแห่งจะมีการดูอายุของไม้ไผ่ด้วยว่าไม่ให้อ่อนหรือไม่ให้แก่เกินไปจะมีผลต่อความยืดหยุ่นของเชิญชมเว็บไซต์โรงเรียนบ้านทองหลาง http://tl-school.comได้ไม่ไผ่มาแล้วต้องนำมาเหลาให้ได้ขนาดและความยาวที่เหมาะสม และยังต้องทดสอบความยืดหยุ่นของไม้ไผ่เมื่อนำมาดัดงอด้วยว่าสามารถดัดงอได้ดีหรือไม่ ขนาดและความยาวของไม้ไผ่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของว่าวที่จะทำ ถ้าเป็นว่าวจุฬาขนาดมาตรฐานใช้แข่งขัน ก็จะมีตัวใหญ่มาก ต้องทำอย่างแข็งแรงและได้ขนาดที่เหมาะสม ถ้าเป็นว่าวปักเป้าตัวจะเล็กลงมา เน้นความคล่องแคล่วปราดเปรียว ส่วนว่าวงู ว่าวนกฮูก เน้นความสวยงามของกระดาษที่ปิดมากกว่า เมื่อได้ไม้ไผ่มาตามขนาดที่ต้องการต่อไปก็ถึงขึ้นทำโครงว่าว โดยถ้าเป็นว่าวปักเป้าจะใช้ไม่ไผ่ 2 ชิ้นขัดกันขึ้นมาเป็นโครง ยึดกันด้วยด้าย ซึ่งขึ้นตอนนี้ก็สำคัญเนื่องจากการผูกด้ายยึดโครงต้องมีความพอดีไม่ให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป ไม่งั้นว่าวจะเสียศูนย์ได้เวลาเล่น เมื่อได้โครงว่าวแล้ว ก็ถึงขึ้นตอนการปิดกระดาษ กระดาษที่ใช้ทำว่าว จะเป็นกระดาษว่าว หรือบางคนใช้กระดาษสาอาจจะเป็นของประเทศไทยหรือจีนก็ได้ ปางรายมีเทคนิคคือปิดกระดาษตอนเช้าๆ ตอนสายๆอากาศอุ่นขึ้นกระดาษก็จะตึงพอดี หลังจากปิดกระดาษเสร็จแล้วก็มาเจาะรูผูกคอซุง โดยต้องดูความสมดุลของว่าว ว่าไม่เอียงซ้ายหรือขวา หัวหรือท้ายไม่หนักเกินไป อาจจะลองชักเล่นดูเลยก็ได้ หลังจากนั้นก็ตกแต่งภายนอก และวางจำหน่ายได้การทำว่าวเป็นศิลปะของไทยโดยแท้
เชิญชมเว็บไซต์ ร.ร.บ้านทองหลาง http://tl-school.com/

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การทำว่าวไทย


คุณกุล บุญกนก มีพื้นเพเป็นคนนครสวรรค์ เคยรับราชการครูสอนงานช่างประดิษฐ์ ด้วยความที่ชอบว่าวมาตลอดหลังเกษียณจึงทำว่าวจำหน่าย โดยคิดออกแบบว่าวและลวดลายใหม่ๆ ด้วยตนเอง ขั้นตอนการทำว่าวเริ่มจากการไปหาซื้อไม้ไผ่สีสุกจากจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และอยุธยา โดยคุณกุลเป็นผู้ตัวไม้ไผ่ด้วยตนเองเพราะจะเลือกเฉพาะไม่ไผ่สดที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป สีไม้ไผ่จะมีสีดำคล้ำหรือเขียวแก่ แล้วนำไม้ที่ได้มาผ่าแช่น้ำไว้ 1 เดือน เพื่อให้เหนียวและกันมอดกินเนื้อไม้ จากนั้นมำมาตากแห้งจึงสามารถนำมาทำเป็นว่าวได้ ปัจจุบันคุณกุล ได้เปิดสอนการทำว่าวภายในชุมชนด้วย ผู้สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0 2982 2091

ความเป็นมาของว่าว


คำว่า “ว่าว” ในภาษาไทย หรือ “Kite” ในภาษาอังกฤษ มีความหมายว่า เป็นเครื่องเล่นรูปต่างๆ มีไม้เบาๆ เป็นโครง แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบางๆ ปล่อยให้ลอยขึ้นไปในอากาศ โดยมีเชือกหรือป่านยึดไว้ ว่าว เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ทำขึ้นมา เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงและเพื่อประโยชน์อย่างอื่นมาเป็นเวลานับพันปีแล้ว โดยไม่ทราบกำเนิดที่แน่ชัดว่า ว่าวเกิดขึ้นที่ชาติใดก่อนเป็นครั้งแรก เพราะว่าวเป็นการเล่นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เล่นกันเกือบทุกชาติทุกภาษา แต่ที่นิยมเล่นกันมากคือ ชนชาติในทวีปเอเซีย ทั้งนี้เพราะลักษณะอากาศในภูมิภาคนี้อำนวยต่อการเล่นว่าว ด้วยมีท้องฟ้าแจ่มใส มีสายลมพัด สามารถส่งว่าวให้ขึ้นไปลอยในอากาศได้เสมอที่น่าสนใจคือประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรม เก่าแก่และสำคัญของโลก มีองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการเล่นว่าวเป็นอย่างยิ่งคือ ในประเทศจีนมีต้นไผ่เป็นจำนวนมาก ชาวจีนรู้จักการทอผ้าไหมและทำกระดาษมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4,000 ปีมาแล้ว จากบันทึกเก่าแก่ของประเทศจีนที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ชาวจีนรู้จักการทำว่าวและเล่นว่าวมาไม่น้อยกว่า 2,000 ปีมาแล้ว
ประเภทและชนิดของว่าว ในประเทศไทยมีการแบ่งประเภทว่าว เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ1. ว่าวแผง ได้แก่ ว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาว เช่น ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา ว่าวอีลุ้ม ว่าวแซงแซว หรือว่าวรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น2. ว่าวภาพ ได้แก่ ว่าวที่ประดิษฐ์ขึ้นในลักษณะพิเศษ เป็นรูปร่าง มีความกว้าง ความยาว และความหนา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้ 3 ประเภท คือว่าวประเภทสวยงาม ว่าวประเภทความคิด ว่าวประเภทขบขัน ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทยั ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำมาจากไม้ไผ่ นำมาไข้วกันมี แกนกลางอันหนึ่ง และมีอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน แต่ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง และภู่จะมีชนิดเดียวไม่มีหลายประเภทเหมือน ภาคกลาง ว่าวรูปแบบอื่น ๆ คงได้รับแบบอย่างจากว่าวภาคกลางในภายหลัง ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม ว่าวภาคเหนือลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำมาจากไม้ไผ่ นำมาไข้วกัน มี แกนกลางอันหนึ่ง และมีอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน แต่ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง และภู่จะมีชนิดเดียวไม่มีหลายประเภทเหมือน ภาคกลาง ว่าวรูปแบบอื่น ๆ คงได้รับแบบอย่างจากว่าวภาคกลางในภายหลัง ว่าวภาคกลาง มีการวิจัยสำรวจพบว่าเยาวชนไทยในภาคกลางนิยมเล่นว่าวมากถึง ร้อยละ 50.60 ว่าวที่นิยมเล่นมีรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิม คือ ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวอีเพรด ว่าวอีลุ้ม ส่วนรูปแบบใหม่ที่รับมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวปลา ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น ว่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม ว่าวภาคใต้การเล่นว่าวในภาคใต้นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นส่วนใหญ่ ว่าวที่เล่นกันมากในภาคใต้มีหลายชนิด เช่น ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก และว่าวใบไม้ ว่าวที่นิยมเล่นกันมาก คือว่าววงเดือนแบบมีแอก ผู้เล่นมักชักขึ้นในเวลาบ่ายแล้วลงในตอนเช้าของอีกวันหนึ่ง ซึ่งถือว่าว่าวตัวไหนชักไว้ค้างคืนโดยไม่ต้องเอาลงได้นับว่าตัวนั้นวิเศษมาก อนึ่งนักเล่นว่าวชาวใต้นิยมประชันเสียงแอกด้วยว่าว่าวตัวไหนมีเสียงแอกดังและไพเราะกว่ากัน คนรุ่นเก่า ๆ มักนิยมเล่นว่าววงเดือนขนาดใหญ่กันเป็นหมู่เป็นพวก คือทำว่าวที่มีขนาดของปีกยาวประมาณ 3-4 เมตร ใช้คนส่งว่าวขึ้น 2-3 คน และคนชัก 3-4 คน ส่วนว่าววงเดือนอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีแอกนั้น นิยมเล่นเพื่อการแข่งขันว่าวว่าวตัวไหนลอยขึ้นสูงที่สุดได้ก่อนตัวอื่นในเวลาเดียวกัน ฤดูกาลที่นิยมเล่นว่าวมาก คือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เล่าถึงพราะราชพิธีบุษยาภิเษก ในเดือนยี่ว่าเป็นนักขัตฤกษ์ที่นางสนมกำนัลได้ดูการชัก "ว่าวหง่าว" ซึ่งมีเสียงไพเราะเสนาะโสตยิ่ง และในกฎมานเทียรบาลในสมัยอยุธยาได้ห้ามชักว่าวข้ามพระราชวัง หากละเมิดมีโทษถึงตัดมือ
หลักฐานจากจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชฑูตจากราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุการเดินทางไว้ว่า "ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าของทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้บาทหลวง ตาชาร์ด ซึ่งเป็นบาทหลวงในนิกายเยซุอิค ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ส่งเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ได้เขียนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับว่าว ไว้ว่า"ว่าวเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ทะเลชุบศร และเมืองลพบุรี ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืนรอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูกกระพรวนส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้วโดยเริ่มแรกอาจรับอิทธิพลความเชื่อในพิธีกรรมมาจากอินเดีย ต่อมาค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นการละเล่นตามฤดูกาลเท่านั้น ที่มา http://www.blogger.com/post-edit.g?blogID=1139073533774942285&postID=5803788002348889059
ว่าวไทย อีกหนึ่งภูมิปัญญาที่ไม่ควรมองข้าม
ว่าวเป็นสิ่งที่ชาวไทยคุ้นเคยและรู้จักกันมาแต่โบราณ เพราะเป็น การละเล่นและเป็นกีฬาที่แพร่หลาย เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ. ศ.1781-1981) จนเกิดตำนานความรักระหว่างพระร่วงหรือพ่อ ขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งโปรดการเล่นว่าวมาก วันหนึ่งพระองค์ทรง เล่นว่าวในวัง สายป่านขาดลอยไปตกที่หลังคาบ้านพระยาเอื้อ พระองค์เสียดายว่าวมาก เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงปลอมตัวเป็นคน สามัญ ปีนออกจากวังไปเก็บว่าวที่บ้านพระยาเอื้อ เมื่อปีนไปก็ได้พบ ว่าพระยาเอื้อมีลูกสาวสวย ทำให้พระองค์เกิดความรักกับลูกสาว พระยาเอื้อ
ต่อมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) การเล่นว่าวได้รับความ นิยมมาก ตั้งแต่พระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงสามัญชน ในสมัย สมเด็จพระเพทราชา ได้ใช้ว่าวในการสงครามด้วย คือใช้ว่าวติด ลูกระเบิดลอยขึ้นไปแล้วจุดไฟสายป่าน ทำให้ฝ่ายข้าศึกถูกระเบิด เสียหาย การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระ มหากษัตริย์จะทรงว่าวจุฬา ถ้าใครเล่นว่าวปักเป้าเข้ามาในเขตของ พระองค์ก็จะถูกคว้าลงมา และการพนันเรื่องว่าวก็เริ่มมีขึ้นแต่บัด นั้น
หลักฐานจากจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชฑูตจากราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุการ เดินทางไว้ว่า "ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าของทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้
บาทหลวง ตาชาร์ด ซึ่งเป็นบาทหลวงในนิกายเยซุอิค ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ส่งเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ได้เขียนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับว่าว ไว้ว่า "ว่าวเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ทะเลชุบศร และเมืองลพบุรี ขณะที่ สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืนรอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูกกระพรวนส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง”
สมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2449 ได้มีการจัดการแข่งขัน ว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทาน ที่พระราชวังดุสิต การแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาใน ช่วงปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรง ฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากนั้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาอีก แต่ก็มีอันต้องว่างเว้นไปอีก เนื่องจากว่า รัฐบาลไม่ส่งเสริม และว่าวเป็นสิ่งที่สร้างปัญหากับระบบการจ่ายไฟฟ้า เพราะมีว่าวไปติดสายไฟ และเคยมีคนถูกไฟดูดตายก็มีมาก จึงทำให้การเล่นว่าวเสื่อมความนิยมลงไป และคนมีที่มีภูมิปัญญาด้านนี้เริ่มร่อยหรอลง เด็กรุ่นใหม่ที่เล่นและทำว่าวเองเริ่มที่จะไม่มีให้พบเห็น
จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างมากหากการเล่นว่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย จากหลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้ว จึงขอชักชวนให้พวกเราหันมาส่งเสริมให้เด้กและเยาวชนมาเล่นว่าวกันให้มากขึ้น เพื่อช่วยกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเล่นว่าวของคนไทยเรา ฝากอีกนิดนึงว่า ถ้าจะเล่นก็ควรหาพื้นที่เปิดโล่ง และห่างจากสายส่งไฟฟ้าให้มากนะครับ เพื่อเป็นจุดสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาทางศิลปะวัฒนธรรม และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
เทศกาลว่าวไทย ณ ท้องสนามหลวง
ตามปกติฤดูกาลเล่นว่าวของคนไทยมักจะมีขึ้นระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน เพราะจะมีลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ หรือลมตะเภา พัดมาจากอ่าวไทย กล่าวกันว่า การเล่นว่าว มีถิ่นกำเนิด ในประเทศจีน ไม่ต่ำกว่า 3000 ปี มาแล้ว ในระหว่าง การปกครอง ของราชวงศ์ฮั่น ทหารจีนทำว่าวโดย ใช้ท่อไม้ ไผ่ผูกติดไว้ แล้วปล่อย ให้ลอยอยู่เหนือหัวข้าศึก เมื่อลมผ่าน เข้าไปในท่อ ก็ทำให้ เกิดเสียงหวีด น่ากลัว ทำให้ข้าศึก ตื่นตระหนกและ วิ่งหนี เอาตัวรอด คนไทยรู้จักการเล่นว่าวมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และสืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใด ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงคนสามัญชนธรรมดา จะถือว่าว่าวเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมและการกีฬาซึ่งผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนโดยไม่มีที่ใดในโลกสามารถทำได้ “ว่าว” สามารถทำขึ้นเองได้ง่าย ๆ จากไม้ไผ่และกระดาษสา นิยมเล่นทุกเพศทุกวัย วิธีเล่นก็ง่ายเพียงให้ว่าวขึ้นไปปัดป่ายอยู่บนท้องฟ้าก็เป็นพอ ส่วนการเล่นว่าวเพื่อแข่งขัน นิยมใช้ว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า คู่ปรับตลอดกาลของการต่อสู้กลางเวหาของไทย เป็นว่าวที่มีชื่อเสียงที่สุดของชาติไทย อาจเรียกได้ว่าเป็นว่าวประจำชาติเลยทีเดียวมีลักษณะโดดเด่นจากชาติอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ทั้งรูปร่างและการเคลื่อนไหวในอากาศ "ว่าวจุฬา" มีขนาดโตกว่าปักเป้ามาก บางตัวยาวถึง 2 เมตร มีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉกไม่มีหางผูกคอซุงที่อกจึงทำให้ส่ายไปมาได้ มีอาวุธคือ “จำปา” เป็นไม้เหลาโค้งประกบติดสายป่าน ต่อจากซุงลงมา สำหรับเกี่ยวว่าวปักเป้า "ว่าวปักเป้า" มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนผูกคอซุงที่อก และมีหางยาวไว้ถ่วงน้ำหนัก ที่มุมด้านล่างของตัวว่าวมีอาวุธคือ “เหนียง” เป็นห่วงป่านติดใต้คอซุงลงมา เอาไว้คล้องตัวว่าวจุฬา สำหรับการทำว่าวจุฬาและปักเป้านั้นต้องอาศัยฝีมือที่ประณีต มักนิยมใช้ไม้ไผ่สีสุกเท่านั้น ในการทำโครงว่าว การคัดเลือกไม้ การดัดและเหลาไม้ การผูกว่าว แต่ละคนจะมีเคล็ดลับแตกต่างกันไป การเล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน มีการพัฒนาการต่อสู้ ดัดแปลงการชักด้ายที่ติดไว้ด้วยของมีคมทำจากเศษแก้วที่เรียกว่า “ สำหรับต่อสู้กัน ใครพลาดท่าก็จะถูกคู่แข่งตัดสายป่านขาด ตลอดการแข่งขันกลางเวหา ตั้งแต่การขึ้นว่าว การยัก การส่าย การคว้า การโฉบ รอก และการบังคับให้เคลื่อนไวได้อย่างสง่างามด้วยสายป่านเพียงสายเดียว ซึ่งต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ที่มีความงามด้วยสีสรร แต่ส่วนมากมักลอยลมอยู่เฉยๆ “จึงอาจกล่าวได้ว่าชาติไทย เป็นชาติเดียวที่มีกีฬาเอาชนะกันกลางเวหา” ว่าวไทยมีการเล่นในทุกๆ ภาค จะแตกต่างกันบ้างในลักษณะของว่าว กีฬาเล่นว่าวนอกจากผู้เล่นจะสนุกสนาน ผู้ชมก็ยังได้รับความเพลิดเพลินและตื่นตาตื่นใจเพราะนี่คือ อีกหนึ่งแห่งความภาคภูมิใจแห่งภูมิปัญญาของคนไทย ที่เราคนไทยควรช่วยกันรักษาไว้สืบไป ถ้าร้อนนี้รู้สึกเบื่อๆไม่มีอะไรทำก็พาน้องๆ หลานๆไปเล่นว่าวกันก็น่าสนุกนะคะไปที่ สนามหลวงก็ได้รับรองว่ามีเพื่อนร่วมเล่นอีกเพียบ แต่ถ้าจะให้ดีควรไปตอนเย็นๆ แดดร่มแล้วจะดีมากค่ะขอให้สนุกครับ

วิธีการทำและอุปกรณ์การทำว่าว


ว่าวเป็นการละเล่นที่สามารถหาอุปกรณ์ได้ง่ายแต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ควรใส่ใจก็คือเรื่องของการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพมาประกอบการทำว่าวเพื่อให้ว่าวสามารถตัวอยู่บนอากาศได้อย่างสวยงาม เริ่มจากการหาไม้มาประกอบเป็นโครงสร้าง ไม้ที่นำมาประกอบเป็นโครงสร้างโดยทั่วไปแล้วสามารถใช้ไม้ชนิดใดก็ได้แต่ ส่วนใหญ่นิยมนำไม้ไผ่มาใช้ เนื่องจากไม้ไผ่เป็นไม้ที่มีความยืดหยุ่นและเหนียว ทนแรงลม การเลือกไม้ไผ่ควรเลือกไม้ที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไปแล้วผ่าซีกนำไปตากแดด เหลาให้มีขนาดที่พอดีไม่เล็กจนเกินไปเพราะจะไม่สามารถต้านแรงลมได้นาน หรือไม่ควรใหญ่จนเกินไปเพราะหากมีน้ำหนักมากเกินไปอาจจะทำให้ว่าวขึ้นสู่กระแสลมได้ไม่สูงไม่สวยงาม อุปกรณ์ต่อมาก็จะเป็นเรื่องของสายป่านหรือเชือกที่นำมาผูกกับไม้สายที่นำมาผูกควรเหนียว การผูกสายป่านควรผูกให้แต่ละด้านให้เท่ากันและรัดให้แน่นต่อมาอุปกรณ์ที่สำคัญชิ้นสุดท้ายก็เป็นกระดาษที่ใช้นำมาปิดว่าว กระดาษที่นิยมคือกระดาษสา โดยนำกระดาษมาตัดตามรูปโครงว่าวให้ใหญ่กว่าขนาดโครงว่าวเล็กน้อยแล้วนำกาวมาติดตามขอบของโครงว่าว ซึ่งในปัจจุบันก็มีการสร้างสรรค์นำสี หรือกระดาษสีต่างๆนำมาติดเพื่อความสวยงามมากมายพร้อมทั้งเป็นการยึดให้กระดาษติดโครงว่าวมากขึ้น

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์


ในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2449 ได้มีการจัดการแข่งขันว่าวจุฬา-ปักเป้าชิงถ้วยทองคำพระราชทานที่พระราชวังสวนดุสิตการแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์และในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ ได้ทรงให้มี การจัดกีฬาว่าวขึ้นมาอีก ครั้งหนึ่งความหมาย ว่าวเป็นการละเล่นของไทยที่มีมาช้านาน โดยการเล่นต้องหาโอกาสที่เหมาะสม ในการเล่นซึ่งโอกาสที่เหมาะสมในที่นี้ก็ คือ การหาช่วงเวลาที่มีอากาศดีลมพัดอย่างสม่ำเสมอไม่แรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้ว่าวเสียการทรงตัวและขาดได้พร้อมทั้งสถานที่ในการเล่นว่าวควรจะเป็นสถานที่กว้างพอที่จะทำให้ว่าวลอยได้อย่างอิสระสวยงาม การเล่นว่าวใช้อุปกรณ์ในการเล่นที่ไม่ยุ่งยากเพราะส่วนประกอบของว่าว โดยหลักแล้วจะมีเพียงไม้ไผ่ที่นิยมใช้ทำโครงว่าว และกระดาษที่ ใช้ติด กับโครงว่าวที่เราสร้างไว้ กระดาษกับเชือกที่ใช้ผูกกับไม้ความแข็งแรงนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ในการแข่งขันหรือเล่นเพื่อความสนุกสนาน หากใช้ในการแข่งขันเชือกกับกระดาษที่ใช้ควรจะเหนียวพอที่จะโต้ลมได้จนจบการแข่งขันโดยไม่มีการชำรุดไปเสียก่อน
ว่าวที่นิยมเล่นในเทศกาลการจัดการแข่งขันการเล่นว่าวภาพจากhttp://www.thailand-huahin.com/t-pictures-huahin-kite-festival.htm
ประเภทและชนิดของว่าว ในปัจจุบันการเล่นว่าวได้พัฒนาขึ้นรูปแบบของว่าวก็ได้ถูกพัฒนา ให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น รวมทั้งมีการประดิษฐ์ให้มีความทันสมัย สีสัน รูปแบบสวยงามเป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน โดยว่าวที่เล่นกันในประเทศไทยได้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ 1.ว่าวแผง เป็นว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้าง และส่วนยาว เช่นว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวอีลุ้ม ว่าวรูปสัตว์ ต่างๆ 2.ว่าวภาพ ชื่อของว่าวก็เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าว่าวประเภทนี้ต้องเกี่ยวข้องกับ ความคิดสร้างสรรค์ ฝีมือที่ใช้ในการประดิษฐ์ว่าวเพื่อให้เกิดลักษณะที่พิเศษ เป็นที่น่าสนใจแก่ผู้คน ซึ่งว่าวภาพก็แบ่งย่อยเป็น 3 ประเภทอีก คือ • ว่าวประเภทสวยงาม • ว่าวประเภทความคิด • ว่าวประเภทขบขัน
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆว่าวภาคเหนือภาพจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK13/pictures/l13-189c.jpgภาคเหนือ ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมจะมีรูปแบบง่ายๆโดยโครงสร้างก็ประกอบด้วยไม้ไผ่ที่มาทำเป็นโครงมีไม้ที่ทำเป็นแกนกลางและทำเป็นปีกว่าวทีกระดาษที่ไว้ปิดโครงไม้รูปร่างว่าวคล้ายว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง ว่าวรูปแบบอื่นๆคงได้รับแบบอย่างมาจากการทำว่าวของภาคกลางว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม

ว่าวจุฬา ภาพจากhttp://www.thailandpost.com/images/stamp_unseen/Week2004_01.jpgภาคกลาง ภาคกลางเป็นภาคที่นิยมการเล่นว่าวซึ่ง ว่าวที่เป็นที่นิยมเล่นกันจะมีด้วยกันหลายรูปแบบแต่ที่เป็นแบบดั้งเดิมคือว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวอีเพรด ว่าวอีลุ้ม ส่วนว่าวที่เป็นรูปแบบใหม่ก็เช่นว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ ภาคตะวันออก ว่าวที่ภาคตะวันออกเล่นกันเช่นว่าวอีลุ้ม ว่าวหาง ว่าวหัวแตก ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวกระดาษ ว่าวในมะกอก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้มส่วนว่าวที่มีการเล่นว่าวหาง (ว่าวดุ๊ยดุ่ย), ว่าวอีลุ้ม (ว่าวอีลุ่ม) ว่าวปลาโทดโทง ว่าวประทุนว่าวงู ภาพจาก http://www.freewebs.com/bin10229/index.htmlภาคใต้ การเล่นว่าวในภาคใต้นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นส่วนใหญ่ ว่าวที่เล่นกันมากในภาคใต้มีหลายชนิด เช่น ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก และว่าวใบไม้ ว่าวที่นิยมเล่นกันมาก คือว่าววงเดือนแบบมี คนรุ่นก่อนๆ มักนิยมเล่นว่าววงเดือน ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่คือการทำว่าวที่มีขนาดของปีกยาวประมาณ 3-4 เมตร ใช้คนส่งว่าวขึ้น 2-3 คน และคนชัก 3-4 คน ส่วนว่าววงเดือนอีกชนิดหนึ่งจะเป็นแบบไม่มีแอกซึ่งเล่นเพื่อการแข่งขันว่าวตัว
วิธีการทำและอุปกรณ์การทำว่าว ว่าวเป็นการละเล่นที่สามารถหาอุปกรณ์ได้ง่ายแต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ควรใส่ใจก็คือเรื่องของการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพมาประกอบการทำว่าวเพื่อให้ว่าวสามารถตัวอยู่บนอากาศได้อย่างสวยงาม เริ่มจากการหาไม้มาประกอบเป็นโครงสร้าง ไม้ที่นำมาประกอบเป็นโครงสร้างโดยทั่วไปแล้วสามารถใช้ไม้ชนิดใดก็ได้แต่ ส่วนใหญ่นิยมนำไม้ไผ่มาใช้ เนื่องจากไม้ไผ่เป็นไม้ที่มีความยืดหยุ่นและเหนียว ทนแรงลม การเลือกไม้ไผ่ควรเลือกไม้ที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไปแล้วผ่าซีกนำไปตากแดด เหลาให้มีขนาดที่พอดีไม่เล็กจนเกินไปเพราะจะไม่สามารถต้านแรงลมได้นาน หรือไม่ควรใหญ่จนเกินไปเพราะหากมีน้ำหนักมากเกินไปอาจจะทำให้ว่าวขึ้นสู่กระแสลมได้ไม่สูงไม่สวยงาม อุปกรณ์ต่อมาก็จะเป็นเรื่องของสายป่านหรือเชือกที่นำมาผูกกับไม้สายที่นำมาผูกควรเหนียว การผูกสายป่านควรผูกให้แต่ละด้านให้เท่ากันและรัดให้แน่นต่อมาอุปกรณ์ที่สำคัญชิ้นสุดท้ายก็เป็นกระดาษที่ใช้นำมาปิดว่าว กระดาษที่นิยมคือกระดาษสา โดยนำกระดาษมาตัดตามรูปโครงว่าวให้ใหญ่กว่าขนาดโครงว่าวเล็กน้อยแล้วนำกาวมาติดตามขอบของโครงว่าว ซึ่งในปัจจุบันก็มีการสร้างสรรค์นำสี หรือกระดาษสีต่างๆนำมาติดเพื่อความสวยงามมากมายพร้อมทั้งเป็นการยึดให้กระดาษติดโครงว่าวมากขึ้น

วิธีการเล่นว่าวและการแข่งขันบนอากาศของว่าวจุฬากับว่าวปักเป้าภาพจากhttp://www.freehomepages.com/mitmitee/new_page_16.htmวิธีการเล่นว่าว การนำว่าวขึ้นสู่กระแสลมหากว่าเล่นเพียงคนเดียวก็ให้เอาวางราบอยู่กับพื้น หันหัวว่าวมาทางหัวคนชักว่าว ระยะห่างจากตัวสัก 2-3 เมตร แล้ววิ่งพร้อมกระตุกสายป่านโดยการรักษาจังหวะการกระตุก ไม่แรงเกินไปเพื่อให้ว่าวสามารถปรับตัวเข้ากระแสลม แต่หากเล่นกัน 2 คน ก็ให้อีกคนหนึ่งเป็นคนส่งว่าว อีกคนหนึ่งก็เป็นคนชักว่าวโดยคนส่งว่าวควรห่างจากคนชักว่าวประมาณ 4-5 เมตร ตั้งหัวว่าวขึ้นเพื่อรอจังหวะของกระแสลมแล้วจึงส่งว่าวไป คนชักว่าวจะกระตุกสายป่านจนว่าวลอยขึ้นแล้วก็ควบคุมโดยการกระตุกสายป่านให้เป็นถูกจังหวะ การบังคับว่าวหากว่าแรงที่เรากระตุกสายป่านมีมากจะทำให้ว่าวขึ้นได้สูงตามแรงที่เรากระตุก และหากต้องการผ่อนลงมาให้ว่าวอยู่ในระดับที่ต่ำก็ควรลดแรงลงมาเล็กน้อยการแข่งขันเล่นว่าวจุฬากับว่าวปักเป้าภาพจาก http://www.freewebs.com/bin10229/index4.htmlการแข่งขัน ในปัจจุบันว่าวที่นิยมนำมาแข่งขันกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็เห็นจะเป็นว่าวจุฬากับว่าวปักเป้า ซึ่งเป็นว่าวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน และเปรียบเหมือนคู่ปรับกันด้วย โดยโครงสร้างของว่าวจุฬาจะมีขนาดใหญ่ มีกำลังมาก หากเปรียบเทียบแล้ว ว่าวจุฬาจะมีขนาดใหญ่กว่าว่าวปักเป้าเป็น 2 เท่า การแข่งขันเริ่มจาก ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย อยู่ในบริเวณของตน โดยจะให้ว่าวของตัวเองโฉบเข้าหาอีกฝ่ายหนึ่ง ว่าวปักเป้าจะมีเหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียการทรงตัวซึ่งว่าวปักเป้าที่อยู่ในแดนของตนก็จะร่อนไปมาเพื่อหาโอกาสโฉบว่าวจุฬามาโดยการใช้เหนียง ส่วนว่าวจุฬาจะ ติดดอก จำปาไว้ ซึ่งดอกจำปานี้จะทำให้ว่าวปักเป้ามาติดว่าวจุฬา ในขณะการเล่นผู้ชักว่าวทั้งสองฝ่ายห้ามล้ำแดนกัน กฎการได้ชัยชนะคือหากว่าวจุฬาสามารถลากพาว่าวปักเป้าเข้าทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้านำคู่ต่อสู้มาในแดนของตนได้สำเร็จก็เป็นฝ่ายชนะ หรือ ว่าวปักเป้าลากพาว่าวจุฬามาแดนของตนได้ก็เป็นฝ่ายชนะได้เช่นกัน แต่ถ้าหากว่าขณะที่ชักมาว่าวปักเป้าขาดลอยไปเสียก็ไม่มีฝ่ายใดได้คะแนนคุณค่าและประโยชน์ในการเล่นว่าว ว่าวเป็นกีฬา การละเล่นที่มีมาช้านาน รวมทั้งบ่งบอกเอกลักษณ์ของความเป็นไทยได้ดี เป็นการฝึกใช้ความสามารถทางศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ ความแข็งแรง อดทน ความมีไหวพริบ ความสามัคคีที่ต้องช่วยกันให้ชนะอีกฝ่าย

ว่าวไทย



ว่าวไทย
การเล่นว่าวของไทยมีปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่ไม่มีหลักฐานว่าว่าวเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อใด นอกจากจะเป็นเครื่องเล่นแล้ว ว่าวยังเป็นเครื่องมือในการทำสงคราม และการทำนายเสี่ยงทายอีกด้วย ความนิยมเล่นว่าวได้มีมาทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่งในหมู่เจ้านาย และ ขุนนาง ปัจจุบันการเล่นว่าวยังคงเป็นกีฬาพื้นเมืองที่มีการแข่งขันกันทุกๆ ปี ที่บริเวณท้องสนามหลวง


เนื่องจากว่าวไทยมีเอกลักษณ์ของตนเอง ศิลปะการประดิษฐ์ว่าว จึงเป็นสิ่งที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และความชำนาญ เพราะขั้นตอนการทำไม่มีตำราเรียน หรือหลักเกณฑ์มาตรฐานตายตัว ว่าวไทยของคุณสวย เศียรกระโทกจึงมีการพัฒนาวัสดุ รูปแบบและลวดลายตลอดเวลา เช่น การนำผ้าร่มมาทำเป็นว่าวรูปเครื่องร่อนและว่าวปลากระเบน หรือการใช้วิธีการซิลค์สกรีนพิมพ์ลวดลายแทนการเขียนด้วยมือ ทำให้ว่าวมีความสวยงามแปลกตา ทั้งยังสามารถผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนได้ ผลงานของคุณสวยส่วนใหญ่ส่งไปจำหน่ายยังตลาดโบ๊เบ๊ และตลาดมหานาค ส่วนที่ชุมชนนั้นจะนำไปวางจำหน่ายที่เชิงสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น เป็นประจำวันทุก

พลิกตำนาน... ว่าวไทย


เมื่อฤดูร้อนมาเยือน กิจกรรมหรือการละเล่น เพื่อความบันเทิงอย่างหนึ่งของเด็กและผู้ใหญ่ ที่ได้รับความนิยมกันมาก ในทุกภาคของประเทศไทยเสมอมา ก็คือ “การเล่นว่าว” หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 13กล่าวถึงการเล่นว่าวไว้ว่า “ปรากฏหลักฐานการเล่นว่าวว่า มีมาแต่กรุงสุโขทัย เป็นว่าวที่ส่งเสียงดัง เวลาลอยอยู่ในอากาศ เรียกว่า “ว่าวหง่าว” ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ปรากฏตามหลักฐานของชาวต่างประเทศว่า “ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ปรากฏในท้องฟ้าทุกคืนตลอดเวลาระยะ 2 เดือน…” และยังกล่าวว่า “ว่าวเป็นกีฬาที่เล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยาม” และในสมัยพระเพทราชา เคยใช้ว่าวในการสงคราม โดยผูกหม้อดินบรรจุดินดำเข้ากับสายป่านว่าวจุฬาข้ามกำแพงเมือง แล้วจุดชนวนให้ระเบิดไหม้ เมืองนครราชสีมาได้สำเร็จ”
จากหลักฐานข้างต้น แสดงให้เห็นว่าชาวไทยรู้จักการเล่นว่าว มาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้ว “ว่าว” จึงถือเป็นผลผลิตหนึ่ง ที่เกิดจากภูมิปัญญาของช่างฝีมือพื้นบ้านไทย ในแต่ละท้องถิ่นที่นำเอาทรัพยากรธรรมชาติรอบตัว มาประดิษฐ์สร้างสรรค์ เป็นของเล่นให้แก่ลูกหลาน หรือใช้เล่นกันในเวลาว่างจากการทำงาน ดังนั้น องค์ความรู้ในการทำว่าว จึงนับเป็นมรดกตกทอด ที่บรรพบุรุษของเรา ได้คิดค้นและถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน ในแต่ละท้องถิ่น ชุมชน หรือบุคคล ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ปัจจุบันเหลือช่างฝีมือพื้นบ้านที่ชำนาญการทำว่าวน้อยลงมาก อาจเนื่องจากความนิยมในการเล่นว่าวลดลง และขาดผู้สืบทอด ส่งผลให้ภูมิปัญญาในการทำว่าวบางประเภท ใกล้สูญหายไป