วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การทำว่าวไทย


ว่าวแม้จะทำจากไม้ไผ่และกระดาษว่าว ซึ่งใช้อุปกรณ์ไม่มากเพียงไม่กี่ชิ้น แต่ต้องอาศัยศิลปะและความชำนาญอย่างมาก โดยเฉพาะการทำว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ไม้ไผ่ที่ใช้ทำว่าวมักใช้ไม้ไผ่สีสุกทำ ต้องมีเคล็ดลับการเลือกแตกต่างกันไปตามแต่ละสำนัก บางแห่งจะมีการดูอายุของไม้ไผ่ด้วยว่าไม่ให้อ่อนหรือไม่ให้แก่เกินไปจะมีผลต่อความยืดหยุ่นของเชิญชมเว็บไซต์โรงเรียนบ้านทองหลาง http://tl-school.comได้ไม่ไผ่มาแล้วต้องนำมาเหลาให้ได้ขนาดและความยาวที่เหมาะสม และยังต้องทดสอบความยืดหยุ่นของไม้ไผ่เมื่อนำมาดัดงอด้วยว่าสามารถดัดงอได้ดีหรือไม่ ขนาดและความยาวของไม้ไผ่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของว่าวที่จะทำ ถ้าเป็นว่าวจุฬาขนาดมาตรฐานใช้แข่งขัน ก็จะมีตัวใหญ่มาก ต้องทำอย่างแข็งแรงและได้ขนาดที่เหมาะสม ถ้าเป็นว่าวปักเป้าตัวจะเล็กลงมา เน้นความคล่องแคล่วปราดเปรียว ส่วนว่าวงู ว่าวนกฮูก เน้นความสวยงามของกระดาษที่ปิดมากกว่า เมื่อได้ไม้ไผ่มาตามขนาดที่ต้องการต่อไปก็ถึงขึ้นทำโครงว่าว โดยถ้าเป็นว่าวปักเป้าจะใช้ไม่ไผ่ 2 ชิ้นขัดกันขึ้นมาเป็นโครง ยึดกันด้วยด้าย ซึ่งขึ้นตอนนี้ก็สำคัญเนื่องจากการผูกด้ายยึดโครงต้องมีความพอดีไม่ให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป ไม่งั้นว่าวจะเสียศูนย์ได้เวลาเล่น เมื่อได้โครงว่าวแล้ว ก็ถึงขึ้นตอนการปิดกระดาษ กระดาษที่ใช้ทำว่าว จะเป็นกระดาษว่าว หรือบางคนใช้กระดาษสาอาจจะเป็นของประเทศไทยหรือจีนก็ได้ ปางรายมีเทคนิคคือปิดกระดาษตอนเช้าๆ ตอนสายๆอากาศอุ่นขึ้นกระดาษก็จะตึงพอดี หลังจากปิดกระดาษเสร็จแล้วก็มาเจาะรูผูกคอซุง โดยต้องดูความสมดุลของว่าว ว่าไม่เอียงซ้ายหรือขวา หัวหรือท้ายไม่หนักเกินไป อาจจะลองชักเล่นดูเลยก็ได้ หลังจากนั้นก็ตกแต่งภายนอก และวางจำหน่ายได้การทำว่าวเป็นศิลปะของไทยโดยแท้
เชิญชมเว็บไซต์ ร.ร.บ้านทองหลาง http://tl-school.com/

ไม่มีความคิดเห็น: