วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ประวัติศาสตร์ว่าวไทย


ว่าวเป็นสิ่งที่คนไทยเราคุ้นเคยมานาน ตั้งแต่สมัยเด็กในทุกๆ ฤดูร้อน ซึ่งว่าวไทยนั้นมีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวไทยควรภาคภูมิใจ และช่วยกันรักษาไว้เป็นมรดกของชาติ่สมัยสุโขทัย (พ. ศ.1781-1981) มีความนิยมเล่นว่าวในหมู่เจ้านาย จนเกิดเป็นเรื่องราวความรักของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งโปรดการเล่นว่าวมาก วันหนึ่งพระองค์ทรง เล่นว่าวในวัง สายป่านขาดลอยไปตกที่หลังคาบ้านพระยาเอื้อ พระองค์เสียดายว่าวมาก เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงปลอมตัวเป็นคน สามัญ ปีนออกจากวังไปเก็บว่าวที่บ้านพระยาเอื้อ แล้วพบว่าพระยาเอื้อมีลูกสาวสวย ทำให้พระองค์เกิดความรักกับลูกสาว พระยาเอื้อ สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) การเล่นว่าวได้รับความ นิยมมาก ตั้งแต่พระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงสามัญชน ในสมัย สมเด็จพระเพทราชา ได้ใช้ว่าวในการสงครามด้วย โดยใช้ลูกระเบิดติดกับว่าวแล้วจุดไฟตามสายป่าน ใส่ฝ่ายข้าศึก การแข่งขันว่าวจุฬา และปักเป้าเกิดขึ้นในสมัยนี้ โดย พระมหากษัตริย์จะทรงว่าวจุฬา ถ้าใครเล่นว่าวปักเป้าเข้ามาในเขตของ ก็จะถูกคว้าลงมา หลักฐานจากจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชฑูตจากราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุการ เดินทางไว้ว่า "ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าของทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้"บาทหลวง ตาชาร์ด ซึ่งเป็นบาทหลวงในนิกายเยซุอิค ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ส่งเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ได้เขียนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับว่าว ไว้ว่า "ว่าวเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ทะเลชุบศร และเมืองลพบุรี ขณะที่ สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืนรอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูกกระพรวนส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง"สมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งแต่เดิมนั้นผู้ที่เล่นว่าวใกล้พระบรมมหาราชวังมีโทษถึงการตัดมือ เนื่องจากอาจลอยไปทำลายยอดและเครื่องประดับของตัวปราสาทได้ ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2449 ได้มีการจัดการแข่งขัน ว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทาน ที่พระราชวังดุสิต การแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาใน ช่วงปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรง ฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาอีก แต่ก็มีอันต้องว่างเว้นไปอีก เนื่องจากว่า รัฐบาลไม่ส่งเสริม และว่าวเป็นสิ่งที่สร้างปัญหากับระบบการจ่ายไฟฟ้า เพราะมีว่าวไปติดสายไฟ และเคยมีคนถูกไฟดูดตายก็มีมาก จึงทำให้การเล่นว่าวเสื่อมความนิยมลงไป และคนมีที่มีภูมิปัญญาด้านนี้เริ่มร่อยหรอลง เด็กรุ่นใหม่ที่เล่นและทำว่าวเองเริ่มที่จะไม่มีให้พบเห็นจากหลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้ว เราจึงควรอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปะของชาตินี้ให้คงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น: